สำรวจโลกของการขนส่งส่วนบุคคลในอนาคต

กำลังมองหาที่แนวโน้มล่าสุดและนวัตกรรมเทคโนโลยีที่รูปร่างการเดินทางทั่วโลก

   Jun 18

ความชื้นในอากาศ

ความชื้นในอากาศมีโอกาสที่จะสัมผัส และสร้างความเสียหายให้กับสินค้าในหีบห่อได้ 3 ทาง คือ

1 เข้าไปในหีบห่อจากภายนอก

2 อยู่ภายในหีบห่อโดยเข้าไปขณะบรรจุ

3 ตัวสินค้าเองคลายความชื้นออกมา

รู้แล้วก็ใช้กันอย่างถูกวิธด้วยครับ ด้วยความปราถนาดี จากนายอู

ดังนั้นหากจะใช้สารกันชื้นให้ได้ผลจะต้องบรรจุสินค้าพร้อมสารกันชื้น ในหีบห่อที่ปิดสนิทไม่มีรอยรั่วให้อากาศผ่านเข้าไปได้ และต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับขนาดของหีบห่อและชนิดของสินค้า

ข้อดีของกันชื้นจากธรรมชาติ

นอกจากไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อมแล้วยังใช้ความเป็นธรรมชาติในตัวสร้างประสิทธิภาพ ในการดูดและเก็บกักความชื้นได้มากกว่ากันชื้นที่สังเคราะห์จากเคมี ความเป็นรูพรุน นับล้านในแต่ละอนูของดินไดอะตอเมเชียล เอิธ์ท จะสามารถดูดซับและกักเก็บน้ำไว้ได้มากมาย อย่างน่าอัศจรรย์

ลักษณะการใช้งาน

ลักษณะการใช้งานแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

1 ใส่ซองกันชื้นในซองเดียวกับสินค้า

การใช้ในลักษณะนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากซองสารดูดกันชื้นสัมผัสโดยตรง กับสินค้าการใช้ลักษณะนี้ควรจะปฏิบัติดังต่อไปนี้

1.1 เลือกชนิดสารดูดความชื้นที่ผลิตจากธรรมชาติ และไม่เป็นอันตรายหากบริโภคเข้าไป

1.2 เลือกซื้อกับผู้ขายที่มีโรงงานแบ่งบรรจุที่ได้มาตรฐานเพื่อป้องกันซองแตกรั่ว

1.3 เลือกสินค้าที่ไม่มีสารแคลเซี่ยมคลอไรด์ผสม เพราะแคลเซี่ยมคลอไรด์จะละลาย และซึมออกจากซองไปปนเปื้อนกับสินค้า

  1. ใส่ซองกันชื้นนอกซองบรรจุสินค้าและแพ็คทั้งซองสินค้าและ ซองกันชื้นในห่อเดียวกัน … การใช้งานลักษณะนี้จะให้ความปลอดภัยกับสินค้ามากกว่าเนื่องจาก ไม่มีการสัมผัสโดยตรงกับสินค้า ข้อแนะนำในการเลือกใช้ชนิดของสารดูดความชื้นคือ ใช้กันชื้นที่มีความสามารถ ในการดูดความชื้นสูงที่สุดแต่ต้องไม่มีสารแคลเซี่ยมคลอไรด์ผสมอยู่ เนื่องจากเมื่อแคลเซี่ยมคลอไรด์ ละลายแล้วจะออกฤทธิ์กัดกร่อนและซึมผ่านเข้าไปทำความเสียหายให้กับสินค้าได้
  2. ใส่ซองสารดูดความชื้นในตู้คอนเทนเนอร์ หลังจากบรรจุสินค้าแล้ว

การใช้ลักษณะนี้เพื่อป้องกันหีบห่อภายนอกไม่ให้เปียกจากน้ำที่กลั่นตัว จากความชื้นภายใน ตู้คอนเทนเนอร์ ข้อแนะนำในการใช้คือ ใช้ขนาด 1 กิโลกรัม บรรจุถุงผ้า หรือ 200 กรัม บรรจุซองวันเวย์ และแขวนไว้ให้ทั่วทั้งตู้ 1 ตู้ 20 ฟุตควรใช้ ปริมาณ 20 กิโลกรัม

เนื่องจากกันชื้นแต่ละชนิดมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน ประสิทธิภาพแตกต่างกัน และการบรรจุสินค้าแต่ละชนิดใช้วัสดุและวิธีการบรรจุที่แตกต่างกัน ตลอดจนจุดที่บรรจุสินค้า และเส้นทาง การส่งสินค้าของผู้ใช้ล้วนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นมีผลต่อ การคำนวณ ปริมาณที่เหมาะสมของกันชื้นที่จะใช้กับสินค้าทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ขายที่มี มาตรฐานจะสามารถคำนวณปริมาณให้ได้อย่างเหมาะสม ผู้ใช้ควรปรึกษาผู้ขายที่มีความชำนาญ ด้านสารดูดความชื้น หรือผู้ขายกันชื้นโดยเฉพาะ

ปัจจุบันกันชื้นที่ผลิตจากธรรมชาติได้รับความสนใจและใชักันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนหนึ่งเนื่องจากลูกค้าของผู้ผลิตสินค้าขอให้เปลี่ยนจากสารดูดความชื้น ซิลิก้า เจล และ แคลเซี่ยมอ๊อกไซด์เป็นสารจากธรรมชาติ อีกส่วนหนึ่งใช้เพราะคำนึงถึง สภาพแวดล้อม ผู้ใช้กันชื้นจากธรรมชาติหลายรายพบว่า การใส่สารดูดความชื้นที่ผลิต จากธรรมชาตินอกจากจะให้ประสิทธิภาพที่สูงกว่า ปลอดภัยกว่าแล้ว ยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้กับสินค้าอีกด้วย ด้วยเหตุผลนี้ในปัจจุบันผู้ผลิตอาหารมากกว่า 60% ใช้กันชื้น ที่ผลิตจากธรรมชาติแทนการใช้ ซิลิก้า เจล และ แคลเซี่ยมอ๊อกไซด์และในอนาคต ความต้องการ สารดูดความชื้นที่ผลิตจากธรรมชาติจะมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการของ ซิลิก้า เจล และ แคลเซี่ยม อ็อกไซด์จะลดลงจน